News

หนุ่มวิศวกรวัยแค่ 35 ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ระยะลุกลาม หมอเผยเพราะเมนูโปรดใครหลายคน

 

จากสื่อต่างประเทศ ได้รายงานว่า ดร.หลิว ป๋อเหริน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและเวชศาสตร์การทำงาน ได้ทำการรักษาวิศวกรวัย 35 ปี ที่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3 และเกิดการแพร่กระจายไปยังตับหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยยอมรับอย่างเสียใจว่าโรคนี้อาจเกี่ยวข้องกับความชอบกินเนื้อสัตว์ของเขา

ดร.หลิว ป๋อเหริน ได้พูดถึงหัวข้อโปรตีนจากสัตว์หรือโปรตีนจากพืชดีกว่ากัน บนเพจของเขา และย้อนนึกถึงผู้ป่วยเมื่อ 10 ปีก่อน ผู้ป่วยรายนั้นเป็นวิศวกรวัย 35 ปีที่ป่วยด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3 และลุกลามไปยังตับ เมื่อมาปรึกษาเรื่องการบำบัดด้วยโภชนาการ เขายอมรับว่าเป็น “สายเนื้อ” อย่างแท้จริง ชื่นชอบทั้งสเต็กและก๋วยเตี๋ยวเนื้อ อีกทั้งยังนิยมบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอนและไส้กรอก

 

 

อย่างไรก็ตาม หลังป่วยจึงเริ่มหันมากินอาหารมังสวิรัติ แพทย์เห็นว่า อาหารเหล่านี้ล้วนมีความเชื่อมโยงกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ของเขา

ดร.หลิว ป๋อเหริน ระบุว่า ความกังวลหลักของประชาชนเกี่ยวกับโปรตีนจากสัตว์มาจากข้อมูลในปี 2015 โดย สำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งจัดให้ เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก แฮม ฮ็อตดอก และหมูแผ่น เป็น สารก่อมะเร็งระดับ 1

ส่วน เนื้อแดงที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อแกะ ถูกจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งระดับ 2A ซึ่งหมายถึงมีหลักฐานชัดเจนว่าส่งผลก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง และมีแนวโน้มสูงที่จะก่อมะเร็งในมนุษย์ ทั้งนี้ การสำรวจทางระบาดวิทยาชี้ว่า การบริโภคเนื้อแดง มีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม

 

หนุ่มวิศวกรวัยแค่ 35 ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ระยะลุกลาม หมอเผยเพราะเมนูโปรดใครหลายคน

 

เมื่อพูดถึงสาเหตุที่ เนื้อแดง เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง ดร.หลิว ป๋อเหริน อธิบายว่า อาจเป็นผลจากสารต่างๆ ในเนื้อ เช่น ฮีโมโกลบิน, ไนโตรซามีน, โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน หรือ ฮีทเทอโรไซคลิกอะมีน โดย ธาตุเหล็กในฮีโมโกลบิน อาจทำให้เกิดการสร้าง อนุมูลอิสระ ที่สูงขึ้น ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์จนเกิดมะเร็ง

นอกจากนี้ ไขมันในเนื้อแดง หากบริโภคมากเกินไปจะกระตุ้นการหลั่ง กรดน้ำดี ซึ่งช่วยย่อยไขมัน แต่กรดน้ำดีนี้อาจถูก แบคทีเรียในลำไส้ เปลี่ยนเป็น กรดน้ำดีรอง ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ทำให้เนื้อแดงอาจก่อมะเร็งได้

 

 

ดร.หลิว ป๋อเหริน ย้ำว่า ถ้าลดได้ก็ควรลด! อย่างน้อยที่สุดควรหลีกเลี่ยงการบริโภค เนื้อสัตว์แปรรูป และการบริโภค เนื้อแดง ทั้งหมดในแต่ละสัปดาห์ไม่ควรเกิน 500 กรัม โดยเฉลี่ยแล้วไม่ควรกินมากเกินกว่าปริมาณเท่าฝ่ามือหนึ่งข้างต่อวัน

และยังเตือนว่า ควรกินผักอย่างน้อย 5 ชนิดต่อวัน และ ผลไม้ไม่เกิน 2 ชนิด เพราะผักมีทั้ง ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ซึ่งช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนตัวของสารคัดหลั่งในลำไส้ ทำให้ลดระยะเวลาที่สารก่อมะเร็งในเนื้อแดงสัมผัสกับเยื่อบุลำไส้ใหญ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีในลำไส้ ที่ช่วยในการเมแทบอลิซึม สารก่อมะเร็งด้วย

 

 

ทั้งนี้ ดร.หลิว ป๋อเหริน แนะนำว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรับการเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด ควรเน้นการรับประทานไข่และเนื้อขาว เช่น เนื้อไก่ที่ไม่มีหนัง, ปลาและกุ้งจากทะเลลึกขนาดกลางถึงเล็ก พร้อมกับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วและธัญพืช หากระดับฮีโมโกลบินและเม็ดเลือดขาวยังอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่จำเป็นต้องรับประทานเนื้อแดงแล้ว เว้นแต่หลังจากการเคมีบำบัด ฮีโมโกลบินลดต่ำกว่า 10 หรือ เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 3,000 ก็สามารถเสริมเนื้อแดงได้ ในกรณีนี้ เนื้อแดงถือเป็นสิ่งที่จำเป็น

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *